บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233
ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการจำแนกประเภท
- ทักษะการวัด
- ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
- ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
- ทักษะการคำนวณ
หลังจากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่การทดลอง
|
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด |
การทดลอง
แถวที่ 1-2 ทำการปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลม ๆ แล้วนำดินน้ำมันที่ปั้นใส่ลงในโหลที่ใส่น้ำ พบว่า ดินน้ำมันจมลงไปในโหล เพราะว่าดินน้ำมันมีความหนักจึงไม่สามารถลอยน้ำได้
การทดลอง
แถวที่ 3-4 ห้หาวิธีปั้นดินน้ำมันไม่ให้จมน้ำ โดยไม่กำหนดรูปร่าง หรือ รูปทรง โดยเราควรปั้นดินน้ำมันห้มีลักษณะคล้าย ๆ อ่างน้ำ โดยไม่ให้มีความหนาและบางเกินไป ผลสรุปไม่จมน้ำ แต่ยังมีบางคนที่ปั้นแล้วจม เพราะความหนาอาจจะมากเกินกว่าที่น้ำจะรับน้ำหนักได้
การทดลอง
แบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน โดยห้ทุกส่วนมีขนาดเท่ากัน แล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ ตกแต่งให้สวยงามละพับกลีบดอกไม้ให้อยู่นรูปแบบตูม ๆ แล้วนำไปใส่โหลน้ำเพื่อทำการทดลอง เมื่อนำไปส่ในน้ำกลีบดอกไม้ก็จะค่อย ๆ บานออกซึ่งความเร็วหรือช้าในการบานนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษ ถ้ามีความหนามากก็จะบานช้า แต่ถ้าบางเกินไปก็ขาด เพราะน้ำจะซึมเข้าไปในกระดาษ
การทดลอง
ทำการเจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รูโดยเจาะตามแนวตั้งของขวดเรียงลงมา และปิดเทปุทุูกรู จากนั้นใส่น้ำเกือบเต็มขวด
- ทดลองเปิดเทปด้านบนสุด พบว่า"น้ำไหลออกมาแบบค่อยๆไหล"
- ทดลองเปิดเทปตรงกลาง พบว่า"น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1"
- ทดลองเปิดเทปด้านล่างสุด พบว่า"น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 และ 2"
สรุป
น้ำมีโมเลกุลเป็นจำนวนมาก และมีน้ำหนัก เมื่อมีน้ำมากขึ้น น้ำหนักของโมเลกุลก็จะกดลงด้านล่างมาก ทำให้ความดันน้ำเพิ่มขึ้น เมื่อมีความลึกเพิ่มขึ้นจึงทำให้รูด้านล่างมีน้ำไหลแรงกว่ารูที่ 1 และ 2
การทดลอง
เจาะรูที่ขวดน้ำ ต่อสายยาง และให้ปลายสายมีภาชนะรองรับน้ำ ผลการทดลองพบว่า ถ้าภาชนะที่รับน้ำอยู่ต่ำกว่า ขวดน้ำ น้ำจะไหลออกตามสายยางปกติ แต่ถ้าภาชนะรองรับน้ำสูงกว่าหรือเท่ากับขวดน้ำ น้ำก็จะไม่ไหลออก
สรุป
น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำตามกฎของแรงโน้มถ่วง
การทดลอง
จุดเทียนตั้งบนโต๊ะ แล้วน้ำแก้วมาครอบ จะเห็นได้ว่าเทียนจะค่อย ๆ หรี่ลง และดับลงไปนที่สุด
สรุป
เพราะการที่จะทำห้เกิดไฟได้นั้นต้องมีอ็อกซิเจนมาใช้ในการเผาไหม้ เมื่อนำแก้วไปครอบก็จะใช้อ็อกซิเจนที่อยู่ภายในแก้ว เมื่ออ็อกซิเจนภายในแก้วหมด ไฟก็จะดับลงไปด้วย
การทดลอง
นำปากกา หรือ ดินสอ ใส่ในแก้วที่มีน้ำอยู่ และมองลงไปในน้ำจะเห็นได้ว่า ภาพดินสอที่เห็นในน้ำจะมีขนาดใหญ่กว่าของจริง
การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
การทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเป็นวิธีที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งสามารถนำการทดลองนี้ไปใช้อ้างอิง หรือ ประกอบการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองหรือลงมือทำ
คำศัพท์(Vocabulary)
Trial = การทดลอง
Clay = ดินน้ำมัน
Bottle = ขวด
Molecular = โมเลกุล
Tape = เทป
Scissors = กรรไกร
การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง มีส่วนร่วมการทดลอง มีความเข้าใจในสิ่งที่ อาจารย์สอน ตั้งจเรียน
เพื่อน มีส่วนร่วมในการทดลอง ตั้งใจฟัง คุยกันเล็กน้อย
อาจารย์ เตรียมอุปกรณ์ในการทดลองมาให้นศอย่างดีมีการอธิบายระหว่างการทดลอง ทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน