วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

VDO วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



มหัศจรรย์น้ำยาล้างจานMarvel dishwashing liquid






อุปกรณ์(equipment)
1. จานรองถ้วยกาแฟ
2. นมสด
3. สีผสมอาหาร 4 สี
4. น้ำยาล้างจาน


วิธีทดลอง(experimentation)
1. เทนมลงไปในจานรองถ้วยกาแฟ
2. หยดสีผสมอาหารแต่ละสี 1-2 หยดลงในนม บริเวณขอบจาน
3. หยดน้ำยาล้างจาน 2-3 หยด บริเวณกลางจาน
4. ลองสังเกตการเคลื่อนที่ของสีแต่ละสี

          น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง

เพิ่มเติม(extra)

Atmosphere:อากาศ



อากาศ
Atmosphere


อากาศคือ?
         อากาศ คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น


บรรยากาศคือ?
         บรรยากาศคือ ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้ บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น ตามอุณหภูมิ ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) เมโสสเฟียร์ (Mesosphere) และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere) อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

อากาศภายในบ้าน
         อากาศภายในบ้านบางแห่งปรากฎว่า มีระดับมลพิษทางอากาศสูงกว่าอากาศภายนอก ซึ่งบางครั้งมีระดับมลพิษสูงเป็น 10 เท่าของมลพิษข้างนอก แม้แต่อากาศที่หายใจเข้าไปก็มีมลพิษแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้รำคาญหรือเจ็บป่วย ตึก อาคารทุกแห่งที่ไม่ได้มีการระบายลมที่ดี ซึ่งหมายความว่าอากาศไม่สามารถเคลื่อนตัวได้โดยรอบในอาคารสำนักงานใหม่ ๆ ไม่มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์พัดผ่านเข้ามา นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพลาสติก ยังพ่นละอองไอที่เป็นอันตราย หากสะสมในอากาศเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย


นิทานเรื่อง มลพิษทางอากาศ


เพลง มลพิษในอากาศ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233 



วันนี้มีการนำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย

นางสาวสิรินดา  สายจันทร์  


กิจกรรม(activity)
         อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วช่วยกันออกแบบแผ่นพับโรงเรียนของตัวเอง เพื่อนำไปแจกให้กับผู้ปกครอง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
หน้าปก
       สัญลักษณ์โรงเรียน
       ชื่อโรงเรียน
       ชื่อหน่วย,ภาพ
       ชื่อนักเรียน
       ชื่อครูประจำชั้น
เนื้อหา
       ข่าวประชาสัมพันธ์
       วัตถุประสงค์
       สาระการเรียนรู้
       เรื่องที่ต้องการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
       สื่อที่เกี่ยวข้อง
ปกหลัง
       เกมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียน


การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
       ได้เรียนรู้วิธีการทำแผ่นพับ สิ่งที่ควรจะมีในแผ่นพับและการออกแบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเพื่อเป็นการโฆษณา  หรือบอกกล่าวข่าวสาร โดยใช้รูปแบบเอกสารที่น่าสนใจ และเป็นการได้ฝึกปฏิบัติ  ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้


คำศัพท์(Vocabulary)
แผ่นพับ = Flap
อนาคต = Future
ผู้ปกครอง = Parent
ประชาสัมพันธ์ = Public relations
ครูประจำชั้น = Class teacher
สัญลักษณ์ = Emblem

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง        แต่งตัวเรียบร้อย  มีการจดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญโดยย่อ ตั้งใจเรียน
เพื่อน         ตั้งใจเรียน แต่งตัวเรียนร้อย ไท่คุยเสียงดัง มีการเตรียมวิจัยมาอย่างดี
อาจารย์     เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายดี มีการให้คำแนะนำในส่วนของการเรียนการสอนภายในเนื้อหา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233



ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
          อาจารย์ได้ให้เพื่อน ๆ ออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเด็กปฐมวัย

นำเสนอวิจัย(Research presented)




4.นางสาวณัฐพร  ศิริตระกูล  เรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย

การนำเสนอโทรทัศน์ครู(Presentation Teachers TV)
1.เรื่อง  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เสียงมาจากไหน
2.เรื่อง  สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.เรื่อง  อนุบาล 3 เรียนวิทย์สนุก
4.เรื่อง  เรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5.เรื่อง  สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6.เรื่อง  ขวดปั้มและลิปเทียน
7.เรื่อง  สื่อแสงแสนสนุก
8.เรื่อง  วิทย์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอน พลังจิต คิดไม่ซื่อ
9.เรื่อง  ทะเลฟองรุ้ง
10.เรื่อง  สาดสีสุดสนุก
11.เรื่อง  ทอนาโดมหาภัย
12.เรื่อง  ไข่ในน้ำ
13.เรื่อง   ความลับของใยบัว

การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
            เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาแผนการสอนของตนเองในอนาคต ซึ่งเพื่อประยุกต์ให้เจ้ากับยุคสมัยและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย

คำศัพท์(Vocabulary)
เสียง = sound
สะเทินน้ำสะเทินบก = Amphibious
ทะเล = sea
ไข่ = eggs
โทรทัศน์ = television
สี = color


การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง      มีการเตรียมเนื้อหามานำเสนอได้เป็นอย่างดี  ฟังเพื่อนแสดงความคิดเห็น
เพื่อน        มีส่วนร่วมในการนำเสนอวิจัยของเพื่อน โดยการตอบคำถาม เป็นต้น
อาจารย์    อธิบายได้เข้าใจง่าย  เตรียมเนื้อหาได้ดี  มีการให้คำแนะนำเรื่องต่าง ๆ ในการเรียน

วิจัยวิทยาศาสตร์


วิจัยวิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Construction of activity packages to develop science process skills for preschool children)

ชื่อผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนก๋า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความเป็นมาและความสำคัญของวิจัย
         การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยครูควรคำนึงถึงความแตกต่าง  ความสนใจ  และความต้องการของเด็กเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยครูเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ผ่านการคิด การใช้ภาษาให้โอกาสเด็กได้คิดหาเหตุผล กฎเกณฑ์ต่างๆด้วยตัวเอง  โดยเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสิ่งที่ไกลตัว ถ้าครูนำความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและธรรมชาติของเด็กปฐมวัย  จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำกิจกรรมนั้น
           ชุดกิจกรรมเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีวิธีการที่ประมวล เนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด  วิธีการ  กิจกรรม และสื่อ ได้อย่างสอดคล้องกัน เนื่องจากชุดกิจกรรมได้เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ทดลอง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างและใช้ชุดกิจกรรม

วัตถุประสงค์
1.       เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.       เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรืของเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง จำนวน 35 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
  •  ตัวแปรต้นได้แก่ การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  •    ตัวแปรตามได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
          1.เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552  โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝางจำนวน 35 คน
          2.ชุดกิจกรรมหมายถึง ผู้ที่ศึกษาสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ชุด ครอบคลุมเนื้อหาจำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี หน่วยผลไม้น่าทาน หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก หน่วยดอกไม้แสนสวย และหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้
          3.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง กระบวนการทางความคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จำแนกเป็น 4 ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหามิติสัมพันธ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.       ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.       แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย4 ทักษะ ซึ่งเป็นข้อคำถามที่มีลักษณะเป็นรูปภาพจำนวน 4 ชุด รวม 25 ข้อ
สรุปผลการวิจัย
1.       ได้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ชุด ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม

2.       ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเป็นค่าร้อยละ 90.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 60.00

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


วันนี้มีเพื่อนนำเสนอวิจัยทั้งหมด 4 คน



3.นางสาวธิดารัตน์  สุทธิ  วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย

4.นางสาวธนภรณ์  คงมนัส  วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


ขนมวาฟเฟิล


ส่วนผสม

1.ไข่ไก่ (Egg)
2.แป้ง (Flour)
3.เนย (Butter)
4.น้ำ  (Water)

อุปกรณ์
1.ถ้วย (Cup)
2.จาน (Stove)
3.ช้อน (Spoon)
4.เตาอบวาฟเฟิล (plate)
5.ที่ตีไข่ (Whisk)

วิธีทำ
1.นำ แป้ง ไข่ไก่ น้ำและเนยตีผสมให้เข้ากัน
2.เมื่อวัตถุดิบเข้ากันแล้วให้แบ่งใส่ถ้วยเท่า ๆ กัน
3.เทวัตถุดิบลงบนเตาอบวาฟเฟิล
4.เมื่ออบเสร็จแล้วนำมาจัดใส่จานให้เรียบร้อยพร้อมเสริฟ







การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
       การเรียนการสอน ในวันนี้เป็นการสอนที่มีทั้งทฤษฏี และปฎิบัติเพื่อเป็นการดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจในสิ่งที่กำลังสอน และได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่ง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบทเรียนอื่น ๆ ได้

คำศัพท์
วัตถุดิบ = Raw Material
ทฤษฎี = Theory
ผสม = Mix
ดึงดูด = Draw
บทเรียน = Lesson

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง       สนใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน  ตั้งใจเรียน  จดสรุปบ้างเล็กน้อย
เพื่อน        คนที่ต้องนำเสนอวิจัย มีการเตรียมเนื้อหาการนำเสนอที่ดี
อาจารย์     อธิบายได้เข้าใจ มีการเตรียมการสอนที่สนุก ทำให้ไม่เบื่อ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

วันนี้มีการนำเสนองานวิจัยทั้งหมด 7 คน
1.นางสาวกมลพรรณ  แสนจันทร์  
2.นางสาวกมลกาญจน์  มินสาคร
3.นางสาวนฤมล  บุญคงชู
4.นางสาวปนัดดา  อ่อนนวล
5.นายธนารัตน์  วุฒิชาติ
6.นางสาวชนัฐถ์นันท์  แสวงชัย
7.นางสาวไลลา  คนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฟัง หรือนำเสนอวิจัยไปปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  และเพื่อเกิดการพัฒนาที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ในการสอนเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เพื่อให้เด็กได้เข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็กอีกด้วย

คำศัพท์
Research = วิจัย
Presentation = การนำเสนอ
Environment = สิ่งแวดล้อม
Creative Arts = ศิลป์สร้างสรรค์
Nature = ธรรมชาติ
Reason = เหตุผล

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง           ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ มีการออกความคิดร่วมกับเพื่อน ๆ และอาจารย์
เพื่อน             ให้ความร่วมมือ  ไม่คุยกันเสียงดัง เพื่อนมีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
อาจารย์        เข้าสอนตรงเวลา  มีการให้คำแนะนำใในประเด็นต่าง ๆ 

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันที่ 6 พฤศจิกา พ.ศ. 2557

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
         วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนโดยให้ตัวแทนออกมานำเสนอกลุ่มละ 1 วัน

โดยกลุ่มของดิฉันเป็นเรื่อง "ผลไม้"
         ซึ่งสอนเกี่ยวกับการประกอบอาหารโดยใช้ผลไม้เป็นหลัก   และเข้าสู่บนเรียนด้วยเพลง  "ตรงไหมจ้ะ"  และแนะนำอุปกรณ์ในการทำต่าง ๆ และให้สังเกตการละลายของเนย อาจารย์แนะนำว่าก่อนทำอาหารควรให้เด็ก ๆ ตั้งสมมุติฐานก่อน และให้ถามเด็ก ๆ ถึงอุปกรณ์การทำ





 กลุ่มที่ 1 เรื่องกล้วย
           โดยกลุ่มแรกจะสอนเรื่องชนิดของกล้วย  เริ่มต้นการสอนด้วยการร้องเพลงกล้วย พร้อมมีภาพประกอบ อาจารย์แนะนำว่า ให้ใช้ภาพที่มีความน่าสนใจกว่านี้ด้วยการใช้ภาพที่ เปิด - ปิด ได้

กลุ่มที่ 2 เรื่องไก่
         กลุ่มที่สองจะสอนเรื่องความเหมือนและแตกต่างของไก่แจ้ และ ไก่ต๊อก โดยเขียนเป็นแผนภูมิวงกลม  และมีภาพไก่ประกอบพร้อมกับเขียนโยงส่วนต่าง ๆ ของไก่ อาจารย์แนะนำว่า ให้ทำเป็นตาราง

กลุ่มที่ 3 เรื่องกบ
         เริ่มต้นด้วยการเปิดวีดีโอ เรื่อง วงจรชีวิตกบ  และมีภาพมาอธิบายเด็กอีกที อาจารย์แนะนำว่า หลังจากดูวีดีโอจบ  ครูต้องเขียนวงจรชีวิตให้เด็กดูได้   หรืออาจจะใช้คำถามกับเด็ก

กลุ่มที่ 4 เรื่องปลา
        มีการนำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึ่งระวังของปลา  และเล่านิทานเรื่องสัตว์น้ำกับชาวประมง  หลังจากเล่านิทานจบจะมีตารางประโยชน์และข้อพึ่งระวังของปลา โดยให้เด็ก ๆ ตอบและนำใส่ห้ถูกช่อง อาจารย์แนะนำว่า ในการเล่านิทานควรมีภาพประกอบด้วย

กลุ่มที่ 5 เรื่องข้าว
        กลุ่มนี้สอนเรื่องการประกอบอาหารโดยมีข้าวเป็นหลัก  มีการสาธิตการทำข้าวคลุกไข่  อาจารย์แนะนำว่า ควรให้มีการขออาสาสมัคร และให้คนอื่นสังเกตการเปลี่ยนแปลง และตอบคำถาม ไม่จำเป็นต้องนำด้วยเพลง




กลุ่มที่ 6 เรื่องต้นไม้
          เริ่มต้นการสอนด้วยคำคล้องจอง พร้อมมีภาพประกอบ และให้เด็ก ๆ ออกมานับต้นไม้พุ่ม และต้นไม้ยืน พร้อมวาดภาพตามจำนวนที่เด็กนับได้ อาจารย์แนะนำว่า ให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม และห้ออกมานับต้นไม้ทั้งสองชนิดทีละต้น กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่า กลุ่มไหนหมดทีหลังก็มีเยอะกว่า เพื่อห้เด็ก ๆ ได้เห็นภาพมากขึ้น 

กลุ่มที่ 7 เรื่องนม
          กลุ่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับคุณสมบัติของนม  เริ่มต้นด้วยการร้องเพลง "ดื่มนมกันเถอะ"  และสอนด้วยการทดลองนำสีใส่ในนมจะเห็นได้ว่าสีจะอยู่รวมกับนม แต่เมื่อใส่น้ำยาล้างจานลงไปสีจะแยกส่วนกับนม อาจารย์แนะนำว่า น่าจะมีการทดลองเพิ่มเติ่มที่เกี่ยวกับนม


กลุ่มที่ 8 เรื่องน้ำ
          นำเสนอเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ  เริ่มต้นด้วยการร้องเพลง"อย่าทิ้ง"  และเริ่มสอนด้วยการเล่านิทานเรื่อง"หนูนิด" ซึ่งเนื้อหาของนิทานจะเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ เมื่อนิทานจบจะมีการตั้งคำถาม และให้ช่วยกันออกแบบป้ายเพื่ออนุรักษ์น้ำ อาจารย์แนะนำว่า ให้มีรูปภาพประกอบ และช่วยแต่งเพลง อย่าทิ้งด้วย

กลุ่มที่ 9 เรื่องมะพร้าว
          เริ่มด้วยเพลงและการเล่านิทาน และมีการสอนการปลุกมะพร้าวโดยมีภาพประกอบพร้อมคำอธิบาย อาจารย์แนะนำว่า ควรสอนเด็กนเรื่องที่ใกล้ตัวกว่านี้

การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
           เป็นแนวทางนการหาเรื่องราวต่าง ๆ มาสอนเด็ก ๆ ในแต่ละวัน ได้ฝึกการสอนได้เรียนรู้เทคนิคการทำแผนการสอนจากอาจารย์  และสามารถนำไปสอนเด็ก ๆ ได้ด้วย

คำศัพท์(Vocabulary)
Fruit = ผลไม้
Bananas = กล้วย
Chicken = ไก่
Frog = กบ
Fish = ปลา
Tree = ต้นไม้
Milk = นม 
Water = น้ำ
Coconut = มะพร้าว

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง        มีการเตรียมตัวนการนำเสนอ  ตื่นเต้นบ้างเล็กน้อย ตั้งจฟังคำแนะนำของอาจารย์
เพื่อน          ทุกคนเตรียมในการนำเสนอ  เตรียมเนื้อหาที่จะใช้ในการนำเสนอแผน
อาจารย์      มีการให้คำแนะนำ  มีการเตรียมเนื้อหาการสอนที่ดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)           

          เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
  1. ทักษะการสังเกต 
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
  6. ทักษะการคำนวณ
หลังจากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่การทดลอง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด

การทดลอง
       แถวที่ 1-2 ทำการปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลม ๆ แล้วนำดินน้ำมันที่ปั้นใส่ลงในโหลที่ใส่น้ำ พบว่า ดินน้ำมันจมลงไปในโหล เพราะว่าดินน้ำมันมีความหนักจึงไม่สามารถลอยน้ำได้

การทดลอง
       แถวที่ 3-4 ห้หาวิธีปั้นดินน้ำมันไม่ให้จมน้ำ โดยไม่กำหนดรูปร่าง หรือ รูปทรง โดยเราควรปั้นดินน้ำมันห้มีลักษณะคล้าย ๆ อ่างน้ำ โดยไม่ให้มีความหนาและบางเกินไป  ผลสรุปไม่จมน้ำ  แต่ยังมีบางคนที่ปั้นแล้วจม เพราะความหนาอาจจะมากเกินกว่าที่น้ำจะรับน้ำหนักได้


การทดลอง
       แบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน โดยห้ทุกส่วนมีขนาดเท่ากัน แล้วตัดเป็นรูปดอกไม้  ตกแต่งให้สวยงามละพับกลีบดอกไม้ให้อยู่นรูปแบบตูม ๆ แล้วนำไปใส่โหลน้ำเพื่อทำการทดลอง  เมื่อนำไปส่ในน้ำกลีบดอกไม้ก็จะค่อย ๆ บานออกซึ่งความเร็วหรือช้าในการบานนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษ ถ้ามีความหนามากก็จะบานช้า แต่ถ้าบางเกินไปก็ขาด เพราะน้ำจะซึมเข้าไปในกระดาษ



การทดลอง
       ทำการเจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รูโดยเจาะตามแนวตั้งของขวดเรียงลงมา และปิดเทปุทุูกรู จากนั้นใส่น้ำเกือบเต็มขวด
  1. ทดลองเปิดเทปด้านบนสุด พบว่า"น้ำไหลออกมาแบบค่อยๆไหล"
  2. ทดลองเปิดเทปตรงกลาง พบว่า"น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1"
  3. ทดลองเปิดเทปด้านล่างสุด พบว่า"น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 และ 2"
สรุป
      น้ำมีโมเลกุลเป็นจำนวนมาก และมีน้ำหนัก   เมื่อมีน้ำมากขึ้น น้ำหนักของโมเลกุลก็จะกดลงด้านล่างมาก  ทำให้ความดันน้ำเพิ่มขึ้น   เมื่อมีความลึกเพิ่มขึ้นจึงทำให้รูด้านล่างมีน้ำไหลแรงกว่ารูที่ 1 และ 2


การทดลอง
      เจาะรูที่ขวดน้ำ ต่อสายยาง และให้ปลายสายมีภาชนะรองรับน้ำ ผลการทดลองพบว่า ถ้าภาชนะที่รับน้ำอยู่ต่ำกว่า ขวดน้ำ น้ำจะไหลออกตามสายยางปกติ แต่ถ้าภาชนะรองรับน้ำสูงกว่าหรือเท่ากับขวดน้ำ น้ำก็จะไม่ไหลออก

สรุป
      น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำตามกฎของแรงโน้มถ่วง

การทดลอง
      จุดเทียนตั้งบนโต๊ะ แล้วน้ำแก้วมาครอบ จะเห็นได้ว่าเทียนจะค่อย ๆ หรี่ลง และดับลงไปนที่สุด 

สรุป
     เพราะการที่จะทำห้เกิดไฟได้นั้นต้องมีอ็อกซิเจนมาใช้ในการเผาไหม้ เมื่อนำแก้วไปครอบก็จะใช้อ็อกซิเจนที่อยู่ภายในแก้ว เมื่ออ็อกซิเจนภายในแก้วหมด ไฟก็จะดับลงไปด้วย


การทดลอง
      นำปากกา หรือ ดินสอ ใส่ในแก้วที่มีน้ำอยู่ และมองลงไปในน้ำจะเห็นได้ว่า ภาพดินสอที่เห็นในน้ำจะมีขนาดใหญ่กว่าของจริง 




การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
       การทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเป็นวิธีที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งสามารถนำการทดลองนี้ไปใช้อ้างอิง หรือ ประกอบการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองหรือลงมือทำ 

คำศัพท์(Vocabulary)
Trial = การทดลอง
Clay = ดินน้ำมัน
Bottle = ขวด
Molecular = โมเลกุล
Tape = เทป
Scissors = กรรไกร

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง         มีส่วนร่วมการทดลอง มีความเข้าใจในสิ่งที่ อาจารย์สอน ตั้งจเรียน
เพื่อน           มีส่วนร่วมในการทดลอง ตั้งใจฟัง คุยกันเล็กน้อย
อาจารย์       เตรียมอุปกรณ์ในการทดลองมาให้นศอย่างดีมีการอธิบายระหว่างการทดลอง                              ทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน




วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233
(เรียนชดเชยในวันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557)
                     
                เนื่องจากวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ตรงกับวันหยุดทางราชการเป็นวันปิยมหาราชจึงมีการเรียนชดเชยในวันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557



ความรู้ที่ได้รับ
การเขียนแผนการสอน(Writing lesson plans)
         การเขียนแผนการสอนในเด็กปฐมวัยนั้นควรมีการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย สนุก ทำให้เด็กได้คิดตาม มีการถามคำถาม และให้เด็กตอบ เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับรูปที่เกี่ยวกับคำถามนั้นๆ แล้วให้เด็ก ๆ ช่วยกันตอบเพื่อนำมาเชื่อมโยงเป็น mildmap
1.ขั้นนำ(Introduction)
        คือการเลือกแนวการสอนที่จะใช้ในการสอนในแต่ละครั้ง
2.ขั้นสอน(Step tutorial)
        การส่งเสริมประสบการณ์กิจกรรม 6 หลักกิจกรรม
              1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (Movement and rhythm activities)
              2. กิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative activities)
              3. กิจกรรมเสรี (Free activities)
              4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (Experience activities)
              5. กิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor activities)
              6. กิจกรรมเกมการศึกษา (Educational Activities)
3.ขั้นสรุป(summarize)
        ควรสรุปให้มีในส่วนของความรู้ทั้ง 3 ด้านดังนี้
              1.ด้านคณิตศาสตร์
              2.ด้านวิทยาศาสตร์
              3.ด้านภาษา
อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ส่งวันที่ 22 ตุลาคม 2557
กลุ่มของดิฉันเรื่อง หน่วยผลไม้มีประโยชน์
        วันที่ 1 ประโยชน์ในตัวเอง
        วันที่ 2 ประโยชน์เชิงพาณิชย์

การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
       ตนเอง    ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย มีข้อสงสัยบางส่วน
       เพื่อน      มีการให้ความร่วมมือที่ดี  ตั้งใจเรียน
       อาจารย์  เตรียมเนื้อหามาสอน สอนเข้าใจ อธิบายได้เข้าใจง่าย

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

มีการนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

ซึ่งสื่อของเล่นของดิฉันคือ "กบกระโดด"



อุปกรณ์(equipment)
  1. กระดาษ
  2.  กรรไกร หรือ ไม้บรรทัด
วิธีทำและการเล่น(How to Make and Play)
     

ประโยชน์(benefit)
  1. ใช้วัสดุที่หาได้ง่าย
  2. มีวิธีทำที่ไม่ยากเด็ก ๆ สามารถทำได้เอง
  3. สะดวกต่อการเล่น


รายชื่อสื่อของเพื่อนในห้อง
1.ไก่กระต๊าก               11.กล้องส่องทางไกล                 21.ลูกข่างหรรษา
2.ขวดผิวปาก              12.กล่องลูกโป่ง                          22.นาฬิกาน้ำ
3.กระป๋องโยกเยก       13.หลอดหมุนได้                         23.เสียงโป๊ะ
4.ดินสอกังหันลม        14.ตุ๊กตาล้มลุก                            24.ปืนลูกโป่ง
5.หลอดปั๊มน้ำ             15.ลุกปิงปองหมุน                       25.หนูน้อยกระโดดร่ม
6.ไหมพรหมเต้นระบำ 16.เรือลอยน้ำ                              26.ขวดหนังสติ๊ก
7.เหวี่ยงมหาสนุก       17.รถพลังลม                               27.คลื่นทะเลในขวด
8.รถแข่ง                     18.แท่งยิงลูกบอลจากไอติม       28.เครื่องล่อนวงแหวน
9.หนังสติ๊กหรรษา      19.หลอดเสียงสูงต่ำ                    29.โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก
10.ลานหรรษา           20.แม่เหล็กตกปลา                      30.เชียร์ลีดเดอร์

สรุป(synopsis)
      การเล่นกบกระโดดนั้นเด็ก ๆ จะได้รับความรู้เล็ก ๆ น้อยในเรื่องของฟิสิกส์เบื้องต้น(Physics)  และยังได้รับความสนุกสนานจากของเล่นที่เด็กสามารถประดิษฐ์ขึ้นได้เองอีกด้วย

การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
ตนเอง       ข้อมูลที่นำไปนำเสนอยังมีไม่เพียงพอ
เพื่อน        เพื่อนเตรียมสื่อที่ตัวเองประดิษฐ์มานำเสนอทุกคน
อาจารย์     อาจารย์ให้คำเเนะนำเกี่ยวกับการไปหาความรู้เพิ่มเติม



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

สัปดาห์สอบกลางภาค


วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


บทความที่มีการนำเสนอในห้องเรียน    (โดยมีเนื้อหาสรุปมาพอสังเขป)

1.บทความเรื่องสอนเด็กเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
         เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อฝึกประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้าน และได้รับประสบการณ์ตรง โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เล่านิทาน  ขั้นตอนที่ 2 พาไปชมลูกเป็ดลูกไก่และตั้งคำถามวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนสุดท้าย ให้เด็กวาดภาพ และอธิบายในสิ่งที่เห็น

2.บทความเรื่องจุดประกายเด็กคิดนอกกรอบจากของเล่นวิทยาศาสตร์
         เป็นการให้เด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์  นอกกรอบ โดยนำวัสดุ อุปกรณ์ ที่เหลือใช้ หาได้ง่ายมาผสมผสานกับจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในเชิงออกแบบและเทคโนโลยีระดับปฐมวัยเข้าไปก็ออกมาเป็นของเล่นที่สนุกแล้วแฝงไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

3.บทความเรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิด
         เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูกลิ้น และผิวหนัง ถือเป็นการเรียนรู้รูปแบบนึงที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

4.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
         เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป

5.บทความเรื่องการสอนลูกเรื่องอากาศ
         เพื่อให้เด็กนำไปใช้พัฒนาความรู้ และความคิดให้เกิดความเข้าใจต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
         การออกแบบสื่อการสอนของเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึงเนื้อหาที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละวัน ความน่าสนใจ และให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการเรียนด้วย

คำศัพท์ (Vocabulary)
         Creativity = ความคิดสร้างสรรค์
         Scientific process = กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         Nature = ธรรมชาติ
         Physical = กายภาพ 
         Sensory = ประสาทสัมผัส
         Development = การพัฒนา

การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
       เพื่อนำไปออกแบบสื่อการสอนที่ดี  และการสอนในเรื่องของธรรมชาติรอบตัว สิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เสริมทักษะทางด้านต่าง ๆ โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม ได้เห็นของจริง และเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ 

การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
      ตนเอง        ตั้งใจเรียนดี เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย และสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้
      เพื่อน          มีการจัดที่นั่งตามเลขที่ จึงไม่ค่อยคุยกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปรึกษากัน                             เล็กน้อย
      อาจารย์      มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
          






วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233




บทความที่มีการนำเสนอในห้องเรียน    (โดยมีเนื้อหาสรุปมาพอสังเขป)

1.บทความเรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
         แสง และสีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้น เกิดจากการผสมกันของแม่สีทั้งสาม คือ แดง น้ำเงิน เขียว ซึ่งมีที่จากดวงอาทิตย์นั้นเอง

2.บทความเรื่องเงามหัศจรรย์
         พัฒนาการการรับรู้ของเงานั้นจะเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งในระดับปฐมวัยนั้น เด็กจะเรียนรู้ผ่านใจ เด็กๆ จึงเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมีชีวิต เงาก็เช่นกัน

3.บทความเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
         การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็น เพราะจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักการใช้ทรัพยากร การดูแล รักษา โดยการนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัย เช่น หลักอริยสัจ 4 หลักอิทธิบาท 4 และหลักไตรสิขา เป็นต้น

4.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถแก้ปัญหา และเรียนรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการสอนเด็กปฐมวัยนั้น ควรให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้้วยตัวเอง มองเห็นถึงความเป็นจริง

5.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
         การทดลองทางวิทยายาศาสตร์นั้น จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม และฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้คล่องแคล่ว โดนควรฝึกทักษะ ดังนี้
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการวัด
  • ทักษะการจำแนกประเภท
  • ทักษะการสื่อสาร
  • ทักษะการลงความเห็น
  • ทักษะการพยากรณ์

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
         การประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึง การฝึกทักษะในแต่ละวัน ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับของเล่น และไม่ยากเกิน ความสามารถของเด็ก ให้เด็กได้ลองปฎิบัติด้วยตนเองและไม่เกินความเป็นจริง


คำศัพท์ (Vocabulary)
Observing = ทักษะการสังเกต

Measuring = ทักษะการวัด

Classifying= ทักษะการจำแนกประเภท

Commucations = ทักษะการสื่อสาร

Inferring = ทักษะการลงความเห็น

Predicting= ทักษะการพยากรณ์



การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
          เพื่อนำไปพัฒนาในการทำของเล่น เพื่อให้มีการสอดแทรกเนื้อหา และสามารถฝึกทักษะไปในตัวด้วย


การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
ตนเอง       มีการจดในสิ่งที่เป็นส่วนสำคัญ ไม่ค่อยคุย ตั้งใจฟัง แสดงความคิดเห็นเล็กน้อย
เพื่อน        มีการจดบ้าง ปรึกษากันนิดหน่อย มีการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง