วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

วันนี้มีการนำเสนองานวิจัยทั้งหมด 7 คน
1.นางสาวกมลพรรณ  แสนจันทร์  
2.นางสาวกมลกาญจน์  มินสาคร
3.นางสาวนฤมล  บุญคงชู
4.นางสาวปนัดดา  อ่อนนวล
5.นายธนารัตน์  วุฒิชาติ
6.นางสาวชนัฐถ์นันท์  แสวงชัย
7.นางสาวไลลา  คนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฟัง หรือนำเสนอวิจัยไปปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  และเพื่อเกิดการพัฒนาที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ในการสอนเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวเด็ก เพื่อให้เด็กได้เข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็กอีกด้วย

คำศัพท์
Research = วิจัย
Presentation = การนำเสนอ
Environment = สิ่งแวดล้อม
Creative Arts = ศิลป์สร้างสรรค์
Nature = ธรรมชาติ
Reason = เหตุผล

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง           ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ มีการออกความคิดร่วมกับเพื่อน ๆ และอาจารย์
เพื่อน             ให้ความร่วมมือ  ไม่คุยกันเสียงดัง เพื่อนมีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
อาจารย์        เข้าสอนตรงเวลา  มีการให้คำแนะนำใในประเด็นต่าง ๆ 

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันที่ 6 พฤศจิกา พ.ศ. 2557

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
         วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอนโดยให้ตัวแทนออกมานำเสนอกลุ่มละ 1 วัน

โดยกลุ่มของดิฉันเป็นเรื่อง "ผลไม้"
         ซึ่งสอนเกี่ยวกับการประกอบอาหารโดยใช้ผลไม้เป็นหลัก   และเข้าสู่บนเรียนด้วยเพลง  "ตรงไหมจ้ะ"  และแนะนำอุปกรณ์ในการทำต่าง ๆ และให้สังเกตการละลายของเนย อาจารย์แนะนำว่าก่อนทำอาหารควรให้เด็ก ๆ ตั้งสมมุติฐานก่อน และให้ถามเด็ก ๆ ถึงอุปกรณ์การทำ





 กลุ่มที่ 1 เรื่องกล้วย
           โดยกลุ่มแรกจะสอนเรื่องชนิดของกล้วย  เริ่มต้นการสอนด้วยการร้องเพลงกล้วย พร้อมมีภาพประกอบ อาจารย์แนะนำว่า ให้ใช้ภาพที่มีความน่าสนใจกว่านี้ด้วยการใช้ภาพที่ เปิด - ปิด ได้

กลุ่มที่ 2 เรื่องไก่
         กลุ่มที่สองจะสอนเรื่องความเหมือนและแตกต่างของไก่แจ้ และ ไก่ต๊อก โดยเขียนเป็นแผนภูมิวงกลม  และมีภาพไก่ประกอบพร้อมกับเขียนโยงส่วนต่าง ๆ ของไก่ อาจารย์แนะนำว่า ให้ทำเป็นตาราง

กลุ่มที่ 3 เรื่องกบ
         เริ่มต้นด้วยการเปิดวีดีโอ เรื่อง วงจรชีวิตกบ  และมีภาพมาอธิบายเด็กอีกที อาจารย์แนะนำว่า หลังจากดูวีดีโอจบ  ครูต้องเขียนวงจรชีวิตให้เด็กดูได้   หรืออาจจะใช้คำถามกับเด็ก

กลุ่มที่ 4 เรื่องปลา
        มีการนำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึ่งระวังของปลา  และเล่านิทานเรื่องสัตว์น้ำกับชาวประมง  หลังจากเล่านิทานจบจะมีตารางประโยชน์และข้อพึ่งระวังของปลา โดยให้เด็ก ๆ ตอบและนำใส่ห้ถูกช่อง อาจารย์แนะนำว่า ในการเล่านิทานควรมีภาพประกอบด้วย

กลุ่มที่ 5 เรื่องข้าว
        กลุ่มนี้สอนเรื่องการประกอบอาหารโดยมีข้าวเป็นหลัก  มีการสาธิตการทำข้าวคลุกไข่  อาจารย์แนะนำว่า ควรให้มีการขออาสาสมัคร และให้คนอื่นสังเกตการเปลี่ยนแปลง และตอบคำถาม ไม่จำเป็นต้องนำด้วยเพลง




กลุ่มที่ 6 เรื่องต้นไม้
          เริ่มต้นการสอนด้วยคำคล้องจอง พร้อมมีภาพประกอบ และให้เด็ก ๆ ออกมานับต้นไม้พุ่ม และต้นไม้ยืน พร้อมวาดภาพตามจำนวนที่เด็กนับได้ อาจารย์แนะนำว่า ให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม และห้ออกมานับต้นไม้ทั้งสองชนิดทีละต้น กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีน้อยกว่า กลุ่มไหนหมดทีหลังก็มีเยอะกว่า เพื่อห้เด็ก ๆ ได้เห็นภาพมากขึ้น 

กลุ่มที่ 7 เรื่องนม
          กลุ่มนี้นำเสนอเกี่ยวกับคุณสมบัติของนม  เริ่มต้นด้วยการร้องเพลง "ดื่มนมกันเถอะ"  และสอนด้วยการทดลองนำสีใส่ในนมจะเห็นได้ว่าสีจะอยู่รวมกับนม แต่เมื่อใส่น้ำยาล้างจานลงไปสีจะแยกส่วนกับนม อาจารย์แนะนำว่า น่าจะมีการทดลองเพิ่มเติ่มที่เกี่ยวกับนม


กลุ่มที่ 8 เรื่องน้ำ
          นำเสนอเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ  เริ่มต้นด้วยการร้องเพลง"อย่าทิ้ง"  และเริ่มสอนด้วยการเล่านิทานเรื่อง"หนูนิด" ซึ่งเนื้อหาของนิทานจะเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ เมื่อนิทานจบจะมีการตั้งคำถาม และให้ช่วยกันออกแบบป้ายเพื่ออนุรักษ์น้ำ อาจารย์แนะนำว่า ให้มีรูปภาพประกอบ และช่วยแต่งเพลง อย่าทิ้งด้วย

กลุ่มที่ 9 เรื่องมะพร้าว
          เริ่มด้วยเพลงและการเล่านิทาน และมีการสอนการปลุกมะพร้าวโดยมีภาพประกอบพร้อมคำอธิบาย อาจารย์แนะนำว่า ควรสอนเด็กนเรื่องที่ใกล้ตัวกว่านี้

การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
           เป็นแนวทางนการหาเรื่องราวต่าง ๆ มาสอนเด็ก ๆ ในแต่ละวัน ได้ฝึกการสอนได้เรียนรู้เทคนิคการทำแผนการสอนจากอาจารย์  และสามารถนำไปสอนเด็ก ๆ ได้ด้วย

คำศัพท์(Vocabulary)
Fruit = ผลไม้
Bananas = กล้วย
Chicken = ไก่
Frog = กบ
Fish = ปลา
Tree = ต้นไม้
Milk = นม 
Water = น้ำ
Coconut = มะพร้าว

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง        มีการเตรียมตัวนการนำเสนอ  ตื่นเต้นบ้างเล็กน้อย ตั้งจฟังคำแนะนำของอาจารย์
เพื่อน          ทุกคนเตรียมในการนำเสนอ  เตรียมเนื้อหาที่จะใช้ในการนำเสนอแผน
อาจารย์      มีการให้คำแนะนำ  มีการเตรียมเนื้อหาการสอนที่ดี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)           

          เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
  1. ทักษะการสังเกต 
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
  6. ทักษะการคำนวณ
หลังจากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่การทดลอง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด

การทดลอง
       แถวที่ 1-2 ทำการปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลม ๆ แล้วนำดินน้ำมันที่ปั้นใส่ลงในโหลที่ใส่น้ำ พบว่า ดินน้ำมันจมลงไปในโหล เพราะว่าดินน้ำมันมีความหนักจึงไม่สามารถลอยน้ำได้

การทดลอง
       แถวที่ 3-4 ห้หาวิธีปั้นดินน้ำมันไม่ให้จมน้ำ โดยไม่กำหนดรูปร่าง หรือ รูปทรง โดยเราควรปั้นดินน้ำมันห้มีลักษณะคล้าย ๆ อ่างน้ำ โดยไม่ให้มีความหนาและบางเกินไป  ผลสรุปไม่จมน้ำ  แต่ยังมีบางคนที่ปั้นแล้วจม เพราะความหนาอาจจะมากเกินกว่าที่น้ำจะรับน้ำหนักได้


การทดลอง
       แบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน โดยห้ทุกส่วนมีขนาดเท่ากัน แล้วตัดเป็นรูปดอกไม้  ตกแต่งให้สวยงามละพับกลีบดอกไม้ให้อยู่นรูปแบบตูม ๆ แล้วนำไปใส่โหลน้ำเพื่อทำการทดลอง  เมื่อนำไปส่ในน้ำกลีบดอกไม้ก็จะค่อย ๆ บานออกซึ่งความเร็วหรือช้าในการบานนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษ ถ้ามีความหนามากก็จะบานช้า แต่ถ้าบางเกินไปก็ขาด เพราะน้ำจะซึมเข้าไปในกระดาษ



การทดลอง
       ทำการเจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รูโดยเจาะตามแนวตั้งของขวดเรียงลงมา และปิดเทปุทุูกรู จากนั้นใส่น้ำเกือบเต็มขวด
  1. ทดลองเปิดเทปด้านบนสุด พบว่า"น้ำไหลออกมาแบบค่อยๆไหล"
  2. ทดลองเปิดเทปตรงกลาง พบว่า"น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1"
  3. ทดลองเปิดเทปด้านล่างสุด พบว่า"น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 และ 2"
สรุป
      น้ำมีโมเลกุลเป็นจำนวนมาก และมีน้ำหนัก   เมื่อมีน้ำมากขึ้น น้ำหนักของโมเลกุลก็จะกดลงด้านล่างมาก  ทำให้ความดันน้ำเพิ่มขึ้น   เมื่อมีความลึกเพิ่มขึ้นจึงทำให้รูด้านล่างมีน้ำไหลแรงกว่ารูที่ 1 และ 2


การทดลอง
      เจาะรูที่ขวดน้ำ ต่อสายยาง และให้ปลายสายมีภาชนะรองรับน้ำ ผลการทดลองพบว่า ถ้าภาชนะที่รับน้ำอยู่ต่ำกว่า ขวดน้ำ น้ำจะไหลออกตามสายยางปกติ แต่ถ้าภาชนะรองรับน้ำสูงกว่าหรือเท่ากับขวดน้ำ น้ำก็จะไม่ไหลออก

สรุป
      น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำตามกฎของแรงโน้มถ่วง

การทดลอง
      จุดเทียนตั้งบนโต๊ะ แล้วน้ำแก้วมาครอบ จะเห็นได้ว่าเทียนจะค่อย ๆ หรี่ลง และดับลงไปนที่สุด 

สรุป
     เพราะการที่จะทำห้เกิดไฟได้นั้นต้องมีอ็อกซิเจนมาใช้ในการเผาไหม้ เมื่อนำแก้วไปครอบก็จะใช้อ็อกซิเจนที่อยู่ภายในแก้ว เมื่ออ็อกซิเจนภายในแก้วหมด ไฟก็จะดับลงไปด้วย


การทดลอง
      นำปากกา หรือ ดินสอ ใส่ในแก้วที่มีน้ำอยู่ และมองลงไปในน้ำจะเห็นได้ว่า ภาพดินสอที่เห็นในน้ำจะมีขนาดใหญ่กว่าของจริง 




การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
       การทดลองทางวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเป็นวิธีที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งสามารถนำการทดลองนี้ไปใช้อ้างอิง หรือ ประกอบการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ เพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นและอยากทดลองหรือลงมือทำ 

คำศัพท์(Vocabulary)
Trial = การทดลอง
Clay = ดินน้ำมัน
Bottle = ขวด
Molecular = โมเลกุล
Tape = เทป
Scissors = กรรไกร

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง         มีส่วนร่วมการทดลอง มีความเข้าใจในสิ่งที่ อาจารย์สอน ตั้งจเรียน
เพื่อน           มีส่วนร่วมในการทดลอง ตั้งใจฟัง คุยกันเล็กน้อย
อาจารย์       เตรียมอุปกรณ์ในการทดลองมาให้นศอย่างดีมีการอธิบายระหว่างการทดลอง                              ทำให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน