วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เกือบแย่แล้วคุณมังกร

ขั้นนำ

  1. เล่านิทานและใช้คำถามปลายเปิดว่า ทำไมเวลาเป่าลมเข้าไปในตัวเจ้ามังกรจึงไม่แตก
  2. แนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ คือ ขวดและลูกโป่ง
  3. แจกอุปกรณ์อธิบายวิธิการทำการทดลองให้เด็กๆสังเกต

การทดลอง

  1. ให้เด็กๆเป่าลูกโป่งโดยใช้มือสองข้างดันลูกโป่ง จะเห็นได้ว่าจะเป่าลูกโป่งไม่ได้
  2. เมื่อเอาลูกโป่งใส่ไว้ในขวดน้ำ ก็ยังเป่าลูกโป่งไม่ได้
  3. แต่เมื่อเจาะรูที่ขวด จะสามารถเป่าลูกโป่งได้

สรุปผลการทดลอง  
  • สาเหตุที่เป่าลูกโป่งไม่ได้เพราะในขวดมีพื้นที่น้อย แรงดันอากาศจึงเยอะมาก 
  • เมื่อเจาะรูทำให้อากาศถ่ายเท แรงดันอากาศน้อยลง จึงทำให้เป่าลูกโป่งได้


VDO  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 
ตอน เกือบแย่แล้วคุณมังกร



สรุปบทความ

เรื่อง สสวท. จัดวันนักวิทยาศาสตร์น้อย หัวข้อ"หนูน้อยวัยใส ใส่ใจตนเอง"





สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับหน่วยงานใน จ.สงขลา จัดวันนักวิทยาศาสตร์น้อย 2557 หัวข้อ "หนูน้อยวัยใสใส่ใจตนเอง" ในวันที่ 24-25 มิ.ย. 2557 ณ โรงแรมบีพีสมิหลา บีช แอนด์ รีสอร์ท จ.สงขลา เพื่อให้นักเรียนอนุบาลครู, ผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย โดยจะมีกิจกรรมหลากหลายจากนักวิชาการ       
กิจกรรมในวันแรก  เด็กๆจะได้เข้าฐานกิจกรรมตรวจสอบตนเอง ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ฐาน ได้แก่
 กิจกรรมที่ 1 หนูฟันพุหรือป่าว เด็กจะได้รับการตรวจสุขภาพฟัน 

 กิจกรรมที่ 2  หนูช่วยเหลือตนเองได้อย่างไร เด็กจะได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเล่นเกมบัตรภาพในสถานณ์ต่างๆ 
กิจกรรมที่ 3  วิธีหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจะเกิดขึ้น หนูรักาาความสะอาดได้อย่างไร เด็กจะได้ชมการสาธิตวิธีทำความสะอาด และฝึกปฏิบัติวิธีแปรงฟัน ล้างมือ และการใช้ห้องน้ำที่ถูกต้อง แล้วเด็กยังได้ทำสบู่เหลวล้างมือด้วยตนเองอีกด้วย

กิจกรรมในวันที่สอง มีกิจกรรมด้วยกัน 6 ฐาน ได้แก่ 

1. หนูชอบกินอะไร เด็กได้ใช้ความรู้ในการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายผ่านการเล่นเกม
2. หนูจะหนีให้ไกลยาเสพติดได้อย่างไร เรียนรู้โทษของสิ่งเสพติด และ ฝึกปฏิเสธสิ่งเสพติด
3. หนูออกกำลังกายอย่างไรบ้าง ได้ออกกำลังกายและ เล่นเกมที่ส่งเสริมความเเข็งแรงของร่างกาย
4. หนูไว้ใจใครได้บ้าง โดยการใชย้การแสดงละครหุ่นมือ ได้เรียนรู้ภัยคุกคามแบบต่างๆ และรู้จักวิธีป้องกัน
5. หนูเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย เด็กได้รับความรู้จากตำรวจจราจร โดยฝึกปฏิบัติตามกฎจราจรด้วยกิจกรรมขี่จักรยาน
6. หนูทำอย่างไรเมื่อประสบภัยในท้องถิ่น เด็กได้พบกับนักดับเพลิงและเจ้าหน้าที่ ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับภัยในงท้องถิ่น


วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

VDO วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



มหัศจรรย์น้ำยาล้างจานMarvel dishwashing liquid






อุปกรณ์(equipment)
1. จานรองถ้วยกาแฟ
2. นมสด
3. สีผสมอาหาร 4 สี
4. น้ำยาล้างจาน


วิธีทดลอง(experimentation)
1. เทนมลงไปในจานรองถ้วยกาแฟ
2. หยดสีผสมอาหารแต่ละสี 1-2 หยดลงในนม บริเวณขอบจาน
3. หยดน้ำยาล้างจาน 2-3 หยด บริเวณกลางจาน
4. ลองสังเกตการเคลื่อนที่ของสีแต่ละสี

          น้ำนมอยู่นิ่งๆ ในจานเพราะมีแรงตึงผิว เมื่อเราเติมน้ำยาล้างจานลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำนมลดลง แรงตึงผิวของน้ำนมบริเวณขอบจานที่มีมากกว่าตรงกลางทำให้น้ำนมไหลไปที่ขอบจานและพาสีผสมอาหารไปด้วย สีต่างๆ ก็เลยเกิดการเคลื่อนที่ จนกว่าน้ำยาล้างจานจะละลายไปจนหมดนั่นเอง

เพิ่มเติม(extra)

Atmosphere:อากาศ



อากาศ
Atmosphere


อากาศคือ?
         อากาศ คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น


บรรยากาศคือ?
         บรรยากาศคือ ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้ บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น ตามอุณหภูมิ ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) เมโสสเฟียร์ (Mesosphere) และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere) อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

อากาศภายในบ้าน
         อากาศภายในบ้านบางแห่งปรากฎว่า มีระดับมลพิษทางอากาศสูงกว่าอากาศภายนอก ซึ่งบางครั้งมีระดับมลพิษสูงเป็น 10 เท่าของมลพิษข้างนอก แม้แต่อากาศที่หายใจเข้าไปก็มีมลพิษแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้รำคาญหรือเจ็บป่วย ตึก อาคารทุกแห่งที่ไม่ได้มีการระบายลมที่ดี ซึ่งหมายความว่าอากาศไม่สามารถเคลื่อนตัวได้โดยรอบในอาคารสำนักงานใหม่ ๆ ไม่มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์พัดผ่านเข้ามา นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพลาสติก ยังพ่นละอองไอที่เป็นอันตราย หากสะสมในอากาศเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย


นิทานเรื่อง มลพิษทางอากาศ


เพลง มลพิษในอากาศ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233 



วันนี้มีการนำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย

นางสาวสิรินดา  สายจันทร์  


กิจกรรม(activity)
         อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วช่วยกันออกแบบแผ่นพับโรงเรียนของตัวเอง เพื่อนำไปแจกให้กับผู้ปกครอง
โดยมีรายละเอียดดังนี้
หน้าปก
       สัญลักษณ์โรงเรียน
       ชื่อโรงเรียน
       ชื่อหน่วย,ภาพ
       ชื่อนักเรียน
       ชื่อครูประจำชั้น
เนื้อหา
       ข่าวประชาสัมพันธ์
       วัตถุประสงค์
       สาระการเรียนรู้
       เรื่องที่ต้องการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
       สื่อที่เกี่ยวข้อง
ปกหลัง
       เกมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียน


การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
       ได้เรียนรู้วิธีการทำแผ่นพับ สิ่งที่ควรจะมีในแผ่นพับและการออกแบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเพื่อเป็นการโฆษณา  หรือบอกกล่าวข่าวสาร โดยใช้รูปแบบเอกสารที่น่าสนใจ และเป็นการได้ฝึกปฏิบัติ  ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้


คำศัพท์(Vocabulary)
แผ่นพับ = Flap
อนาคต = Future
ผู้ปกครอง = Parent
ประชาสัมพันธ์ = Public relations
ครูประจำชั้น = Class teacher
สัญลักษณ์ = Emblem

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง        แต่งตัวเรียบร้อย  มีการจดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญโดยย่อ ตั้งใจเรียน
เพื่อน         ตั้งใจเรียน แต่งตัวเรียนร้อย ไท่คุยเสียงดัง มีการเตรียมวิจัยมาอย่างดี
อาจารย์     เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายดี มีการให้คำแนะนำในส่วนของการเรียนการสอนภายในเนื้อหา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233



ความรู้ที่ได้รับ(The knowledge gained)
          อาจารย์ได้ให้เพื่อน ๆ ออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเด็กปฐมวัย

นำเสนอวิจัย(Research presented)




4.นางสาวณัฐพร  ศิริตระกูล  เรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย

การนำเสนอโทรทัศน์ครู(Presentation Teachers TV)
1.เรื่อง  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เสียงมาจากไหน
2.เรื่อง  สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3.เรื่อง  อนุบาล 3 เรียนวิทย์สนุก
4.เรื่อง  เรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5.เรื่อง  สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6.เรื่อง  ขวดปั้มและลิปเทียน
7.เรื่อง  สื่อแสงแสนสนุก
8.เรื่อง  วิทย์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอน พลังจิต คิดไม่ซื่อ
9.เรื่อง  ทะเลฟองรุ้ง
10.เรื่อง  สาดสีสุดสนุก
11.เรื่อง  ทอนาโดมหาภัย
12.เรื่อง  ไข่ในน้ำ
13.เรื่อง   ความลับของใยบัว

การนำไปประยุกต์ใช้(Appications)
            เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำมาพัฒนาแผนการสอนของตนเองในอนาคต ซึ่งเพื่อประยุกต์ให้เจ้ากับยุคสมัยและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย

คำศัพท์(Vocabulary)
เสียง = sound
สะเทินน้ำสะเทินบก = Amphibious
ทะเล = sea
ไข่ = eggs
โทรทัศน์ = television
สี = color


การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of teaching)
ตนเอง      มีการเตรียมเนื้อหามานำเสนอได้เป็นอย่างดี  ฟังเพื่อนแสดงความคิดเห็น
เพื่อน        มีส่วนร่วมในการนำเสนอวิจัยของเพื่อน โดยการตอบคำถาม เป็นต้น
อาจารย์    อธิบายได้เข้าใจง่าย  เตรียมเนื้อหาได้ดี  มีการให้คำแนะนำเรื่องต่าง ๆ ในการเรียน

วิจัยวิทยาศาสตร์


วิจัยวิทยาศาสตร์

ชื่อวิจัย การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Construction of activity packages to develop science process skills for preschool children)

ชื่อผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนก๋า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความเป็นมาและความสำคัญของวิจัย
         การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยครูควรคำนึงถึงความแตกต่าง  ความสนใจ  และความต้องการของเด็กเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยครูเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ผ่านการคิด การใช้ภาษาให้โอกาสเด็กได้คิดหาเหตุผล กฎเกณฑ์ต่างๆด้วยตัวเอง  โดยเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสิ่งที่ไกลตัว ถ้าครูนำความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและธรรมชาติของเด็กปฐมวัย  จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำกิจกรรมนั้น
           ชุดกิจกรรมเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีวิธีการที่ประมวล เนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด  วิธีการ  กิจกรรม และสื่อ ได้อย่างสอดคล้องกัน เนื่องจากชุดกิจกรรมได้เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ทดลอง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างและใช้ชุดกิจกรรม

วัตถุประสงค์
1.       เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.       เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรืของเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง จำนวน 35 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
  •  ตัวแปรต้นได้แก่ การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  •    ตัวแปรตามได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
          1.เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552  โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝางจำนวน 35 คน
          2.ชุดกิจกรรมหมายถึง ผู้ที่ศึกษาสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ชุด ครอบคลุมเนื้อหาจำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี หน่วยผลไม้น่าทาน หน่วยต้นไม้เพื่อนรัก หน่วยดอกไม้แสนสวย และหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้
          3.ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง กระบวนการทางความคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จำแนกเป็น 4 ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการหามิติสัมพันธ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.       ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2.       แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย4 ทักษะ ซึ่งเป็นข้อคำถามที่มีลักษณะเป็นรูปภาพจำนวน 4 ชุด รวม 25 ข้อ
สรุปผลการวิจัย
1.       ได้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 20 ชุด ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม

2.       ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเป็นค่าร้อยละ 90.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 60.00