วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง233

วันนี้ไม่สามารถมาเรียนได้เนื่องจากติดธุระจึงได้ศึกษาจากเพื่อน
(นางสาวธนพร คงมนัส)


อ้างอิงจาก  Mind Map นางสาวธนพร คงมนัส

อ้างอิงจาก  Mind Map นางสาวธนพร คงมนัส
ทักษะทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
           การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญ โดยที่เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจอยากรู้ อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การที่เด็กได้รู้จักสิ่งต่าง ๆ ทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เด็กสงสัย เข้าใจโลกที่อยู่ ซึ่งส่งผลให้สามารถพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ เด็กมีประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเด็กในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง 2.ได้ประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับชีวิต 3. มีทักษะในด้านการสังเกต 4. รู้จักวิธีการแก้ปัญหาโดยมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือ 5. มีความรู้พื้นฐานจากการได้สืบค้น 6. มีการพัฒนาด้านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความหมายของการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างจาก ความหมายของวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งเน้นที่กระบวนการและผลผลิตวิทยาศาสตร์ แต่เด็กปฐมวัยแตกต่างจากวัยอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้ ดังนั้นจึงเป็นการกระทำโดยอาศัยพื้นฐาน เบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริงต่าง ๆ รอบตัวเอง การให้เด็กได้มีส่วนในการทำกิจกรรมจะช่วยพัฒนาทักษะในการคิดอย่างมีระบบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับต่อไป


เทคนิคการสอน(Teaching Techniques)
1. ทักษะการเขียนสรุป
2. ทักษะการใช้คำถาม เป็นคำถามปลายเปิด


การนำไปประยุกต์ใช้
             เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสื่อการเรียน การสอนของเด็กปฐมวัยโดยคำนึงถึงการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่ดี และถูกต้อง  

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557 
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ 
เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง233
เรียนเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย






เกร็ดความรู้(Bit of knowledge)
        การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จะต้องจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น โดยที่การเล่นดังกล่าวต้องไม่ใช่การเล่นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย และไม่ใช่การยัดเยียดเนื้อหาของระดับประถมศึกษาให้แก่เด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้(Applications)
        1.ทำให้เข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ของเด็กปฐมวัย
       2.เพื่อนำไปประยุกต์เข้ากับสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย
       3.นำไปศึกษาเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

การประเมินการเรียนการสอน(Evaluation of Teaching)
ประเมินตัวเอง   : ตั้งใจเรียน เข้าใจในเนื่้อหาที่อาจารย์สอน และสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้
ประเมินเพื่อน    : มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : สอนโดยการตั้งคำถามเพื่อให้นศ.มีส่วนร่วมในการเรียน



บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557วิชา 
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ 
 เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง233

รียนเรื่องวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยของตัวเอง
- เปิดโอกาสให้เด็กมีสิทธิที่จะเลือกเรียนหรือทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เเสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามที่ตนสงสัย
- ส่งเสริมให้เด็กแสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่


การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตัวเอง    : เข้าห้องเรียนสาย เข้าใจในเนื่้อหาที่อาจารย์สอนได้ดีตอบคำถามของอาจารย์ได้
ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจเรียน มีการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : สอนโดยการตั้งคำถามเพื่อให้นศ.มีส่วนร่วมในการเรียน

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง233

วันนี้ไม่สามารถมาเรียนได้เนื่องจากติดธุระจึงได้ศึกษาจากเพื่อน
(นางสาวกมลพรรณ แสนจันทร์)

อาจารย์อธิบายแนวการสอน, ผลลัพธ์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่
-ด้านคุณธรรมจริยธรรม                 
-ด้านความรู้
-ด้านทักษะทางปัญญา
-ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
-ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-ด้านการจัดการเรียนรู้


องค์ประกอบของบล็อก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
          1. ชื่อ และคำอธิบายบล็อก
          2. รูป และข้อมูลผู้เรียน
          3. ปฏิทิน และนาฬิกา
          4. เชื่อมโยงบล็อก
                - อาจารย์ผู้สอน
                -หน่วยงานสนับสนุน
                -แนวการสอน
                - งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
                - บทความ
                - เพลง
                - สื่อ (เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)
                - สถิติผู้เข้าชม
                - รายชื่อเพื่อน

                                
     การนำไปประยุกต์ใช้ 
-สามารถนำวิธีการทำบล็อก การใส่องค์ประกอบต่างๆของบล็อก ไปใช้ในการบันทึกความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ
-สามารถนำมาใช้ในรายวิชาอื่นได้อีกด้วย
-นำวิธีการสอนไปใช้กับเด็กได้ เช่น มีการใช้คำถาม ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียน
-สามารถนำทักษะภาษาอังกฤษมาใช้ในการศึกษา เพราะประเทศไทยของเรากำลังจะก้าวหน้าสู่อาเซียน เราจึงต้องพัฒนาความรู้ทางด้านภาษาของเราให้คล่องและแม่นยำ

-สามารถใช้เทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เพราะการทำสื่อ เราต้องทำได้หลายรูปแบบ