วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233
(เรียนชดเชยในวันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557)
                     
                เนื่องจากวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ตรงกับวันหยุดทางราชการเป็นวันปิยมหาราชจึงมีการเรียนชดเชยในวันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557



ความรู้ที่ได้รับ
การเขียนแผนการสอน(Writing lesson plans)
         การเขียนแผนการสอนในเด็กปฐมวัยนั้นควรมีการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย สนุก ทำให้เด็กได้คิดตาม มีการถามคำถาม และให้เด็กตอบ เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับรูปที่เกี่ยวกับคำถามนั้นๆ แล้วให้เด็ก ๆ ช่วยกันตอบเพื่อนำมาเชื่อมโยงเป็น mildmap
1.ขั้นนำ(Introduction)
        คือการเลือกแนวการสอนที่จะใช้ในการสอนในแต่ละครั้ง
2.ขั้นสอน(Step tutorial)
        การส่งเสริมประสบการณ์กิจกรรม 6 หลักกิจกรรม
              1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (Movement and rhythm activities)
              2. กิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative activities)
              3. กิจกรรมเสรี (Free activities)
              4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (Experience activities)
              5. กิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor activities)
              6. กิจกรรมเกมการศึกษา (Educational Activities)
3.ขั้นสรุป(summarize)
        ควรสรุปให้มีในส่วนของความรู้ทั้ง 3 ด้านดังนี้
              1.ด้านคณิตศาสตร์
              2.ด้านวิทยาศาสตร์
              3.ด้านภาษา
อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ส่งวันที่ 22 ตุลาคม 2557
กลุ่มของดิฉันเรื่อง หน่วยผลไม้มีประโยชน์
        วันที่ 1 ประโยชน์ในตัวเอง
        วันที่ 2 ประโยชน์เชิงพาณิชย์

การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
       ตนเอง    ตั้งใจเรียนดี ไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย มีข้อสงสัยบางส่วน
       เพื่อน      มีการให้ความร่วมมือที่ดี  ตั้งใจเรียน
       อาจารย์  เตรียมเนื้อหามาสอน สอนเข้าใจ อธิบายได้เข้าใจง่าย

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

มีการนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

ซึ่งสื่อของเล่นของดิฉันคือ "กบกระโดด"



อุปกรณ์(equipment)
  1. กระดาษ
  2.  กรรไกร หรือ ไม้บรรทัด
วิธีทำและการเล่น(How to Make and Play)
     

ประโยชน์(benefit)
  1. ใช้วัสดุที่หาได้ง่าย
  2. มีวิธีทำที่ไม่ยากเด็ก ๆ สามารถทำได้เอง
  3. สะดวกต่อการเล่น


รายชื่อสื่อของเพื่อนในห้อง
1.ไก่กระต๊าก               11.กล้องส่องทางไกล                 21.ลูกข่างหรรษา
2.ขวดผิวปาก              12.กล่องลูกโป่ง                          22.นาฬิกาน้ำ
3.กระป๋องโยกเยก       13.หลอดหมุนได้                         23.เสียงโป๊ะ
4.ดินสอกังหันลม        14.ตุ๊กตาล้มลุก                            24.ปืนลูกโป่ง
5.หลอดปั๊มน้ำ             15.ลุกปิงปองหมุน                       25.หนูน้อยกระโดดร่ม
6.ไหมพรหมเต้นระบำ 16.เรือลอยน้ำ                              26.ขวดหนังสติ๊ก
7.เหวี่ยงมหาสนุก       17.รถพลังลม                               27.คลื่นทะเลในขวด
8.รถแข่ง                     18.แท่งยิงลูกบอลจากไอติม       28.เครื่องล่อนวงแหวน
9.หนังสติ๊กหรรษา      19.หลอดเสียงสูงต่ำ                    29.โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก
10.ลานหรรษา           20.แม่เหล็กตกปลา                      30.เชียร์ลีดเดอร์

สรุป(synopsis)
      การเล่นกบกระโดดนั้นเด็ก ๆ จะได้รับความรู้เล็ก ๆ น้อยในเรื่องของฟิสิกส์เบื้องต้น(Physics)  และยังได้รับความสนุกสนานจากของเล่นที่เด็กสามารถประดิษฐ์ขึ้นได้เองอีกด้วย

การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
ตนเอง       ข้อมูลที่นำไปนำเสนอยังมีไม่เพียงพอ
เพื่อน        เพื่อนเตรียมสื่อที่ตัวเองประดิษฐ์มานำเสนอทุกคน
อาจารย์     อาจารย์ให้คำเเนะนำเกี่ยวกับการไปหาความรู้เพิ่มเติม



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

สัปดาห์สอบกลางภาค


วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233


บทความที่มีการนำเสนอในห้องเรียน    (โดยมีเนื้อหาสรุปมาพอสังเขป)

1.บทความเรื่องสอนเด็กเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
         เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อฝึกประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้าน และได้รับประสบการณ์ตรง โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เล่านิทาน  ขั้นตอนที่ 2 พาไปชมลูกเป็ดลูกไก่และตั้งคำถามวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนสุดท้าย ให้เด็กวาดภาพ และอธิบายในสิ่งที่เห็น

2.บทความเรื่องจุดประกายเด็กคิดนอกกรอบจากของเล่นวิทยาศาสตร์
         เป็นการให้เด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์  นอกกรอบ โดยนำวัสดุ อุปกรณ์ ที่เหลือใช้ หาได้ง่ายมาผสมผสานกับจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในเชิงออกแบบและเทคโนโลยีระดับปฐมวัยเข้าไปก็ออกมาเป็นของเล่นที่สนุกแล้วแฝงไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

3.บทความเรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิด
         เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูกลิ้น และผิวหนัง ถือเป็นการเรียนรู้รูปแบบนึงที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

4.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
         เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป

5.บทความเรื่องการสอนลูกเรื่องอากาศ
         เพื่อให้เด็กนำไปใช้พัฒนาความรู้ และความคิดให้เกิดความเข้าใจต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
         การออกแบบสื่อการสอนของเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึงเนื้อหาที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละวัน ความน่าสนใจ และให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการเรียนด้วย

คำศัพท์ (Vocabulary)
         Creativity = ความคิดสร้างสรรค์
         Scientific process = กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         Nature = ธรรมชาติ
         Physical = กายภาพ 
         Sensory = ประสาทสัมผัส
         Development = การพัฒนา

การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
       เพื่อนำไปออกแบบสื่อการสอนที่ดี  และการสอนในเรื่องของธรรมชาติรอบตัว สิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เสริมทักษะทางด้านต่าง ๆ โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม ได้เห็นของจริง และเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ 

การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
      ตนเอง        ตั้งใจเรียนดี เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย และสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้
      เพื่อน          มีการจัดที่นั่งตามเลขที่ จึงไม่ค่อยคุยกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปรึกษากัน                             เล็กน้อย
      อาจารย์      มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
          






วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233




บทความที่มีการนำเสนอในห้องเรียน    (โดยมีเนื้อหาสรุปมาพอสังเขป)

1.บทความเรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
         แสง และสีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้น เกิดจากการผสมกันของแม่สีทั้งสาม คือ แดง น้ำเงิน เขียว ซึ่งมีที่จากดวงอาทิตย์นั้นเอง

2.บทความเรื่องเงามหัศจรรย์
         พัฒนาการการรับรู้ของเงานั้นจะเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งในระดับปฐมวัยนั้น เด็กจะเรียนรู้ผ่านใจ เด็กๆ จึงเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมีชีวิต เงาก็เช่นกัน

3.บทความเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
         การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็น เพราะจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักการใช้ทรัพยากร การดูแล รักษา โดยการนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัย เช่น หลักอริยสัจ 4 หลักอิทธิบาท 4 และหลักไตรสิขา เป็นต้น

4.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถแก้ปัญหา และเรียนรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการสอนเด็กปฐมวัยนั้น ควรให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้้วยตัวเอง มองเห็นถึงความเป็นจริง

5.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
         การทดลองทางวิทยายาศาสตร์นั้น จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม และฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้คล่องแคล่ว โดนควรฝึกทักษะ ดังนี้
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการวัด
  • ทักษะการจำแนกประเภท
  • ทักษะการสื่อสาร
  • ทักษะการลงความเห็น
  • ทักษะการพยากรณ์

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
         การประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึง การฝึกทักษะในแต่ละวัน ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับของเล่น และไม่ยากเกิน ความสามารถของเด็ก ให้เด็กได้ลองปฎิบัติด้วยตนเองและไม่เกินความเป็นจริง


คำศัพท์ (Vocabulary)
Observing = ทักษะการสังเกต

Measuring = ทักษะการวัด

Classifying= ทักษะการจำแนกประเภท

Commucations = ทักษะการสื่อสาร

Inferring = ทักษะการลงความเห็น

Predicting= ทักษะการพยากรณ์



การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
          เพื่อนำไปพัฒนาในการทำของเล่น เพื่อให้มีการสอดแทรกเนื้อหา และสามารถฝึกทักษะไปในตัวด้วย


การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
ตนเอง       มีการจดในสิ่งที่เป็นส่วนสำคัญ ไม่ค่อยคุย ตั้งใจฟัง แสดงความคิดเห็นเล็กน้อย
เพื่อน        มีการจดบ้าง ปรึกษากันนิดหน่อย มีการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง









วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง233
เรียนเรื่อง ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


         วันนี้อาจารย์ได้นำกล้องวิทยาศาสตร์ ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ คือ แกนกระดาษทิชชู นำมาประดิษฐ์เป็นกล้องและสอดแทรกเรื่องแสง นำมาบรูณาการวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)

โดยสรุปเรื่องแสงได้ดังนี้




วันนี้มีการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
1.กระดาษสี
2.ไม่ลูกชิ้น
3.เทปกาว

วิธีทำ

1.พับกระดาษขนาดกระดาษ A4 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน แล้วแบ่งกับเพื่อนคนละส่วนแล้วพับครึ่ง 2.วาดรูปสองข้าง ที่คิดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กัน
3.นำไม้ลูกชิ้นมาเสียบติดกับกระดาษ
4.นำเทปกาวมาติดให้ส่วนที่เราพับครึ่งนั้นติดกัน

ผลลัพธ์
เมื่อเราหมุนกระดาษไปมาเราจะเห็นความสัมพันธ์ของรูปทั้งสองข้าง เช่น ฝั่งหนึ่งวาดรูปผึ้ง และอีกฝั่งหนึ่งวาดรูป โถน้ำผึ้ง เมื่อเราหมุนกระดาษจะเกิดภาพที่เหมือนผึ้งตอมโถน้ำผึ้ง

การนำไปประยุกต์ใช้
1.ทำให้สามารถสร้างสรรค์ของเล่นที่เกี่ยวกับความรู้วิทยาสาสตร์ได้ 
2.นำไปประยุกต์เข้ากับการเรียนของเด็กปฐมวัย 


การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจเรียน มีอาการง่วงนอนเล็กน้อย เข้าใจในเนื่้อหาที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน มีให้คำปรึกษาบ้างเมื่อเพื่อนถาม
ประเมินอาจารย์ : มีการสอนโดยการใช้คลิปวิดีโอทำให้ไม่น่าเบื่อ