วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233




บทความที่มีการนำเสนอในห้องเรียน    (โดยมีเนื้อหาสรุปมาพอสังเขป)

1.บทความเรื่องแสงสีกับชีวิตประจำวัน
         แสง และสีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้น เกิดจากการผสมกันของแม่สีทั้งสาม คือ แดง น้ำเงิน เขียว ซึ่งมีที่จากดวงอาทิตย์นั้นเอง

2.บทความเรื่องเงามหัศจรรย์
         พัฒนาการการรับรู้ของเงานั้นจะเปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งในระดับปฐมวัยนั้น เด็กจะเรียนรู้ผ่านใจ เด็กๆ จึงเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมีชีวิต เงาก็เช่นกัน

3.บทความเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
         การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเด็กปฐมวัยนั้น มีความจำเป็น เพราะจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักการใช้ทรัพยากร การดูแล รักษา โดยการนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัย เช่น หลักอริยสัจ 4 หลักอิทธิบาท 4 และหลักไตรสิขา เป็นต้น

4.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
         เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถแก้ปัญหา และเรียนรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในการสอนเด็กปฐมวัยนั้น ควรให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้้วยตัวเอง มองเห็นถึงความเป็นจริง

5.บทความเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
         การทดลองทางวิทยายาศาสตร์นั้น จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม และฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้คล่องแคล่ว โดนควรฝึกทักษะ ดังนี้
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการวัด
  • ทักษะการจำแนกประเภท
  • ทักษะการสื่อสาร
  • ทักษะการลงความเห็น
  • ทักษะการพยากรณ์

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
         การประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึง การฝึกทักษะในแต่ละวัน ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับของเล่น และไม่ยากเกิน ความสามารถของเด็ก ให้เด็กได้ลองปฎิบัติด้วยตนเองและไม่เกินความเป็นจริง


คำศัพท์ (Vocabulary)
Observing = ทักษะการสังเกต

Measuring = ทักษะการวัด

Classifying= ทักษะการจำแนกประเภท

Commucations = ทักษะการสื่อสาร

Inferring = ทักษะการลงความเห็น

Predicting= ทักษะการพยากรณ์



การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
          เพื่อนำไปพัฒนาในการทำของเล่น เพื่อให้มีการสอดแทรกเนื้อหา และสามารถฝึกทักษะไปในตัวด้วย


การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
ตนเอง       มีการจดในสิ่งที่เป็นส่วนสำคัญ ไม่ค่อยคุย ตั้งใจฟัง แสดงความคิดเห็นเล็กน้อย
เพื่อน        มีการจดบ้าง ปรึกษากันนิดหน่อย มีการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
อาจารย์     มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น