บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233
บทความที่มีการนำเสนอในห้องเรียน (โดยมีเนื้อหาสรุปมาพอสังเขป)
1.บทความเรื่องสอนเด็กเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่
เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อฝึกประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้าน และได้รับประสบการณ์ตรง โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เล่านิทาน ขั้นตอนที่ 2 พาไปชมลูกเป็ดลูกไก่และตั้งคำถามวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนสุดท้าย ให้เด็กวาดภาพ และอธิบายในสิ่งที่เห็น
2.บทความเรื่องจุดประกายเด็กคิดนอกกรอบจากของเล่นวิทยาศาสตร์
เป็นการให้เด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์ นอกกรอบ โดยนำวัสดุ อุปกรณ์ ที่เหลือใช้ หาได้ง่ายมาผสมผสานกับจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในเชิงออกแบบและเทคโนโลยีระดับปฐมวัยเข้าไปก็ออกมาเป็นของเล่นที่สนุกแล้วแฝงไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย
3.บทความเรื่องการส่งเสริมกระบวนการคิด
เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูกลิ้น และผิวหนัง ถือเป็นการเรียนรู้รูปแบบนึงที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ และยังถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย
4.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป
5.บทความเรื่องการสอนลูกเรื่องอากาศ
เพื่อให้เด็กนำไปใช้พัฒนาความรู้ และความคิดให้เกิดความเข้าใจต่อธรรมชาติ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
การออกแบบสื่อการสอนของเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึงเนื้อหาที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละวัน ความน่าสนใจ และให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับการเรียนด้วย
คำศัพท์ (Vocabulary)
Creativity = ความคิดสร้างสรรค์
Scientific process = กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Nature = ธรรมชาติ
Physical = กายภาพ
Sensory = ประสาทสัมผัส
Development = การพัฒนา
การนำไปประยุกต์ใช้ (Appications)
เพื่อนำไปออกแบบสื่อการสอนที่ดี และการสอนในเรื่องของธรรมชาติรอบตัว สิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เสริมทักษะทางด้านต่าง ๆ โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม ได้เห็นของจริง และเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ
การประเมินการเรียนการสอน (Evaluation of teaching)
ตนเอง ตั้งใจเรียนดี เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย และสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้
เพื่อน มีการจัดที่นั่งตามเลขที่ จึงไม่ค่อยคุยกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปรึกษากัน เล็กน้อย
อาจารย์ มีการสรุปเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอ อธิบายเพิ่มเติม และมีการยกตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น